เช็คด่วน 5 ลักษณะของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
icon  icon
เช็คด่วน 5 ลักษณะของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

เช็คด่วน 5 ลักษณะของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) คืออะไร ? 

ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคือภาวะที่กล้ามเนื้อตาไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เกิดจากการยืดของกล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้อตานั้นไม่แข็งแรง ไม่สามารถพยุงหนังตาหรือชั้นตาของเราได้ ในการลืมตา กระพริบตาแต่ละครั้ง ต้องมีการประสานงานกันระหว่าง "เปลือกตา" "เส้นประสาท" และ “กล้ามเนื้อตา” โดยอาการตาปรือที่เกิดขึ้นนี้ เกิดขึ้นจากการที่ "กล้ามเนื้อตา" ทำงานได้ไม่เต็มที่นั่นเอง




เช็ค 5 ลักษณะของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis)


1. หนังตาตก ตาปรือ ตาดูง่วงและดูล้า

ตาปรือ ตาดูง่วงตลอดเวลา หนังตาตก รู้สึกลืมตาไม่ขึ้น รู้สึกเมื่อยล้าบริเวณเปลือกตา จนทำให้เสียบุคลิกภาพ 


2. ลืมตาได้ไม่เต็มที่ เห็นตาดำน้อย 

เนื่องจากมีอาการตาปรือ เปลือกตาหรือหนังตาตกทำให้มองเห็นไม่ชัด พยายามลืมตาก็ทำได้ลำบาก ดวงตาไม่เปิดกว้าง



3. เลิกคิ้วสูง คิ้วสูงไม่เท่ากัน มีริ้วรอยบนหน้าผาก

เกิดจากกล้ามเนื้อตาไม่มีแรงมากพอในการยกเปลือกตา ลืมตาไม่ขึ้น ทำให้ต้องใช้กล้ามเนื้อบริเวณใกล้เคียงในการช่วยยกเปลือกตา เช่น กล้ามเนื้อบริเวณหน้าผากและคิ้ว การใช้กล้ามเนื้อบริเวณนี้ในการลืมตา ทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าผาก ทำให้คิ้วเลิกสูงขึ้นตามไปด้วย เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อหน้าผากเป็นเวลานาน ทำให้เกิดริ้วรอยขึ้นบนหน้าผากได้



4. ชั้นตาซ้อนกันหลายชั้น 

เกิดจากการที่กล้ามเนื้อตาไม่สามารถยืดหดได้อย่างเต็มที่จนทำให้ผิวหนังเปลือกตาทับซ้อนกันจนเป็นหลายชั้น



5. มีร่องโหล เบ้าตาลึก

เกิดจากการที่กล้ามเนื้อภายในตาหดตัวได้ไม่เต็มกำลัง ทำให้มีพื้นที่เปลือกตาจนถึงโหนกคิ้วมากกว่าปกติ ทำให้ตาดูลึก ในบางเคสมีปัญหาไขมันที่เสื่อมไปตามอายุ ร่วมกับอาการตาปรือจึงทำให้เบ้าตาดูเป็นร่องและลึกกว่าปกติ


กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) เกิดจากอะไรได้บ้าง

1. ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่แรกเกิด

2. เกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผิวหนังบริเวณเปลือกตาเกิดความหย่อนคล้อย กล้ามเนื้อเปลือกตาเสียความยืดหยุ่น

3. เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ทำงานหน้าคอมหรือใช้โทรศัพท์เป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีการพักสายตา การขยี้ตาอย่างรุนแรง หรือการใส่คอนแทคเลนส์ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน

4. เกิดจากการผ่าตัดทำตาสองชั้นที่ผิดพลาด

5. เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เรียกว่าโรค MG หรือ Myasthenia Gravis 


วิธีการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) 

การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจำเป็นต้องผ่าตัดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เนื่องจากการผ่าตัดมีความซับซ้อนมากกว่าการทำตาสองชั้นเทคนิคอื่น ๆ โดยจะมีการผ่าตัดลงลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อตา และเย็บตรึงกล้ามเนื้อตาเพื่อปรับระดับการยกขึ้นของเปลือกตา ช่วยให้เปิดตาได้มากขึ้น แก้ปัญหาหนังตาตก ตาปรือ ตาล้า และช่วยให้ร่องโหลที่เกิดจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงดีขึ้นได้ค่ะ โดยทั่วไปแล้วการปรับแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนิยมทำควบคู่กับการทำตาสองชั้น จะทำให้ได้ตาที่ดูกลมโตและสวยงามขึ้นค่ะ 



หากมีอาการที่บ่งชี้ถึงภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ควรทำการปรับแก้กล้ามเนื้อตาควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อความแม่นยำ แนะนำให้เข้าพบคุณหมอเพื่อปรึกษากับคุณหมอโดยตรงนะคะ เพื่อที่คุณหมอจะได้ประเมินปัญหาชั้นตาและแก้ไข้ปัญหาตาให้คนไข้ได้อย่างตรงจุดค่ะ 


ที่มา : Dr.Sky Burapadecha