หลายคนที่สนใจการทำศัลยกรรมเปิดหัวตาอาจเคยได้ยินเรื่อง “คีลอยด์” กันมาบ้างใช่ไหมคะ คีลอยด์คือแผลเป็นที่นูนขึ้นและขยายเกินจากแผลเดิม ทำให้บางคนกังวลเวลาคิดจะผ่าตัดทำตาสองชั้นหรือเปิดหัวตา แล้วคีลอยด์เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะมีวิธีดูแลหรือป้องกันได้ไหม? เราจะมาอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ในบทความนี้กันค่ะ
คีลอยด์เกิดจากกระบวนการซ่อมแซมแผลของร่างกายที่ทำงานมากเกินไป เมื่อผิวหนังได้รับบาดเจ็บ เช่น จากการผ่าตัด ร่างกายสร้างคอลลาเจนมาซ่อมแซมแผล แต่ในบางกรณีร่างกายสร้างคอลลาเจนในปริมาณมากเกินไป ซึ่งส่งผลให้เกิดการสะสมจนเกิดเป็นแผลนูนลักษณะแข็งขึ้น แผลอาจมีสีแดงหรือเข้มกว่าผิวหนังปกติ
ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดคีลอยด์ ได้แก่:
1. พันธุกรรม: คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นคีลอยด์มีโอกาสเสี่ยงสูง
2. ตำแหน่งของแผล: คีลอยด์มักเกิดในบริเวณที่ผิวหนังมีความตึงหรือยืดหยุ่นมาก เช่น หัวตา ไหล่ หรือหน้าอก
3. การดูแลแผลที่ไม่ถูกต้อง: การทำให้แผลติดเชื้อหรือการกดทับแผลบ่อยๆ อาจกระตุ้นการเกิดคีลอยด์ได้
4. สีผิว: คนที่มีผิวคล้ำมีโอกาสเกิดคีลอยด์ได้มากกว่าคนผิวขาว
วีธีการดูแลรักษา โดยการ การนวดหัวตาลดคีลอยด์ สามารถทำได้ตามนี้ :
1. ทายาลดรอยแผลเป็นบริเวณแผล : เพื่อช่วยให้การนวดเป็นไปอย่างราบรื่น ป้องกันการเสียดสีของผิว และช่วยลดรอยแผลเป็น
2. นำกระดาษทิชชู่สะอาดและนุ่ม หรือผ้าก๊อซรองบริเวณหัวตา : เพื่อไม่ให้มือสัมผัสกับบริเวณแผลโดยตรง หากมือไม่สะอาดอาจเกิดความเสี่ยงที่แผลจะติดเชื้อได้
3. การนวดหัวตา : ใช้ปลายนิ้วกดตรงที่แข็งเป็นไตๆตรงบริเวณหัวตาลงน้ำหนักการกดพอประมาณ ห้ามกดแรงโดยนวดหมุนวนไปตามเข็มนาฬิกา นวดวนไปเรื่อยๆ
โดยนวดครั้งละ 5-10 นาทีต่อวัน เพื่อให้แผลคีย์ลอยด์นุ่มขึ้น
** ข้อควรระวัง **
ห้ามใช้เล็บจิก และไม่ควรกดที่แผลคียลอยด์แรงเกินไป โดยสามารถเริ่มนวดได้หลังตัดไหมแล้ว 3 วัน
ถึงแม้การทำศัลยกรรมตาสองชั้น และการเปิดหัวตาอาจจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดคีลอยด์หรือแผลเป็นนูนบริเวณรอยแผลผ่าตัดได้ แต่หากให้ความสำคัญกับการดูแลหลังผ่าตัดอย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ ก็จะช่วยให้ผลลัพธ์หลังผ่าตัดออกมาดี รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลคีย์ลอยด์ได้
**แต่ทั้งนี้คียลอยด์อาจจะเกิดขึ้นกับเฉพาะบุคคลขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง รวมถึงพันธุกรรมและวิธีการดูแลรักษาแผล**
หากใครที่ทำตาสองชั้นร่วมกับการเปิดตัวตา แล้วมีอาการดังกล่าวอยู่สามารถลองนวดบริเวณหัวตาตามวิธีข้างต้นได้เลยนะคะ แต่หากท่านใดที่มีความกังวลใจเรื่องปัญหาคียลอยด์ หรือรู้สึกว่าแผลคียลอยด์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ แนะนำให้เข้าไปรับการปรึกษากับแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับปัญหาของคุณค่ะ