คอนแทคเลนส์เป็นทางเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตา โดยเฉพาะสาววัยรุ่นที่ต้องการความสะดวกสบาย และอยากเสริมสร้างให้บุคลิกภาพดูดี หลายคนจึงเลือกใส่คอนแทคเลนส์แทนแว่นสายตา แต่ด้วยความสะดวกสบายนี้เอง ทำให้บางคนละเลยการดูแลที่ถูกต้องจนถึงขั้นใส่คอนแทคเลนส์นอนโดยไม่ถอดออก พฤติกรรมเหล่านี้อาจส่งผลร้ายต่อดวงตาได้มากกว่าที่คิด ทั้งการติดเชื้อ ตาแห้ง เป็นต้น วันนี้ Sky Clinic จะพาคุณไปทำความเข้าใจถึงอันตรายของการใส่คอนแทคเลนส์นอน พร้อมวิธีการดูแลที่ถูกต้องเพื่อสุขภาพดวงตาที่ดีในระยะยาวกัน
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เราไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์นอน ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับตอนกลางคืนหรือแม้แต่การงีบหลับระหว่างวัน ดังต่อไปนี้
ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญที่ต้องการออกซิเจนอย่างเพียงพอเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ การใส่คอนแทคเลนส์นอนจะทำให้ดวงตาได้รับออกซิเจนน้อยลงกว่าปกติอย่างมาก เพราะนอกจากจะมีคอนแทคเลนส์ปิดกั้นการไหลเวียนของออกซิเจนแล้ว การใส่แล้วนอน เปลือกตาที่ปิดตลอดทั้งคืนจะยิ่งทำให้กระจกตาขาดอากาศหายใจมากขึ้นไปอีก ส่งผลให้เกิดอาการตาแดง ระคายเคืองและเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้อย่างง่ายดาย
การใส่คอนแทคเลนส์นอนเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อที่ดวงตาได้ มีผู้ป่วยที่เกิดการติดเชื้อที่ดวงตาถึง 18 - 20 ราย จากผู้ป่วย 10,000 คนที่ใส่คอนแทคเลนนอน ส่วนใหญ่จะติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Keratitis) ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบที่กระจกตา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากเชื้อราและอะแคนทามีบาที่สามารถทำลายดวงตา จนอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้
การใส่คอนแทคเลนส์นอนส่งผลให้เกิดภาวะตาแห้งอย่างรุนแรง เพราะขัดขวางกระบวนการผลิตและกระจายน้ำตาตามธรรมชาติ โดยปกติดวงตาจะมีกลไกในการรักษาความชุ่มชื้นผ่านการกระพริบตาและการผลิตน้ำตา แต่เมื่อใส่คอนแทคเลนนอน กระจกตาจะถูกดูดความชื้นออกและไม่ได้รับการหล่อลื่นที่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการคัน แสบตาและรู้สึกไม่สบายตาหลังตื่นนอน
ในขณะที่เรานอนหลับ ดวงตามีการเคลื่อนไหวในช่วง REM Sleep อย่างรวดเร็ว การใส่คอนแทคเลนส์นอนจึงทำให้เลนส์เสียดสีกับกระจกตาตลอดเวลา ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองและเป็นแผลถลอกที่กระจกตาได้ หากเกิดอาการรุนแรง คอนแทคเลนส์อาจหลุดเข้าไปติดอยู่หลังลูกตา ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและการอักเสบที่รุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากจักษุแพทย์โดยด่วน
การดูแลคอนแทคเลนส์อย่างถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพดวงตา โดยสามารถปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ ดังนี้
โดยทั่วไปแล้ว ควรใส่คอนแทคเลนส์ไม่เกิน 8 - 10 ชั่วโมงต่อวันและควรพักสายตาทุก 2 - 3 ชั่วโมง โดยการใส่เลนส์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะตาแห้ง ระคายเคืองและเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อในดวงตาได้ แนะนำให้สลับใช้แว่นตาเป็นระยะ เพื่อให้ดวงตาได้พักและรับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
การใส่คอนแทคเลนส์ไม่ได้ส่งผลต่อขนาดของตาดำหรือม่านตาโดยตรง แต่สิ่งที่อาจทำให้รู้สึกว่าตาดำเล็กลงมักเกิดจากภาวะตาแห้งหรือการระคายเคืองที่ทำให้ต้องหรี่ตา ส่งผลให้ม่านตาหดตัว ดังนั้นหากใครกังวลว่าตาดำจะเล็กลง แนะนำให้เลือกเลนส์ที่เหมาะสมกับสภาพตาและพักสายตาเป็นระยะ จะช่วยป้องกันอาการดังกล่าวได้ หากกังวล ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตรวจประเมินสภาพดวงตาและรับคำแนะนำที่เหมาะสมได้
ถึงแม้จะเป็นการนอนพักสายตาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ไม่แนะนำให้ใส่คอนแทคเลนส์งีบหลับโดยเด็ดขาด เพราะการใส่คอนแทคเลนส์นอนแม้เพียงไม่กี่นาทีก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อและทำให้เกิดภาวะตาแห้งได้ ควรถอดเลนส์ออกทุกครั้งก่อนนอนพักผ่อน ไม่ว่าจะเป็นการงีบสั้น ๆ หรือการนอนหลับยาว
อาการตาแดงหลังใส่คอนแทคเลนส์อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การแพ้น้ำยาล้างเลนส์ การติดเชื้อ ภาวะตาแห้งหรือการใส่เลนส์ที่ไม่สะอาด หากมีอาการตาแดงควรถอดเลนส์ออกทันทีและใช้น้ำตาเทียมเพื่อบรรเทาอาการ หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม
เมื่อใส่คอนแทคเลนส์ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือระคายเคืองดวงตา เช่น การว่ายน้ำ การอาบน้ำ การใช้เครื่องสำอางที่อาจหลุดเข้าตา การนอนหลับ การอยู่ในที่ที่มีฝุ่นละอองมากและการขยี้ตา และไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์นานเกิน 8 - 10 ชั่วโมงต่อวัน
อาการตามัวหลังใส่คอนแทคเลนส์ถือเป็นอีกสัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม โดยอาจมีสาเหตุมาจากเลนส์ที่ไม่สะอาด มีคราบโปรตีนเกาะหรือเลนส์เสื่อมสภาพ ในกรณีที่รุนแรงอาจเป็นแผลกระจกตาหรือติดเชื้อที่ตาได้
การใส่คอนแทคเลนส์นอนเป็นพฤติกรรมที่อันตรายอย่างยิ่งต่อสุขภาพดวงตา ไม่ว่าจะเป็นการขาดออกซิเจน การติดเชื้อ ภาวะตาแห้งหรือการบาดเจ็บที่กระจกตา ผู้ใช้คอนแทคเลนส์ควรให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาความสะอาดและถอดเลนส์ก่อนนอนทุกครั้ง เพื่อป้องกันผลกระทบร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาได้